วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่4

บันทึกครั้งที่4
วันศุกร์ ที่ 28 สิงาคม 2563 เวลา 08.30-12.30น.
เนื้อหา
         เป็นการนำเสอนการทดลองให้กับเพื่อนๆดูทีละคน การทดลองมีหลากหลายวิธี แต่การทดลองก็จะมีวิธีการขั้นตอนในการทำ
             1.ต้องแนะนำอุปกรณ์สำหรับการทดลองให้กับเด็กๆ เพื่อที่เด็กจะได้รู้จัก
             2.การแนะนำอุปกรณ์ต้องแนะนำที่ละอย่าง ละวางจากซ้ายไปขวาของเด็ก เนื่องจากเป็นการลงที่ถูกต้องเพราะว่า เราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา
            3.เริ่มสาธิตการทดลองให้เด็กดู อาจจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำด้วย
            4.ต้องมีตั้งสมมุติฐานให้กับเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้รู้จักการสังเกตการเปลี่ยนแปลงไหม
            5.พอทำการทดลองเสร็จจะต้องถามว่า ตรงกับที่เด็กคิดไหมและถ้าตรงหรือไม่ตรง ก็ให้เด็กๆลองคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กๆก็จะมีส่วนร่วมในการตอบและคิด
            6.สรุปให้กับเด้กว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และตรงกับสมมุติฐานไหม

    👉การที่เราจะจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กจะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้เก็บเด้กด้วย
            1.ถ้าเด็กๆนั่งครึ่งวงกลม ครูไม่ควรที่จะอยู่กลางวง ครูควรอยู่บนเด้กเพื่อที่เด้กคนแรกจะได้มองเห็น
          
คำศัพท์
            1.Pressure        ความดัน
            2. Density        ความหนาแน่
            3.Link              เชื่อมโยง
            4. Demonstration  สาธิต
            5. Carbon dioxide gas  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซ
ประเมิน
           ประเมินตนเอง ตั้งใจดูเพื่อนสาธิตการทดลอง
           ประเมินเพื่อน ตั้งใจอธิบายในสิ่งที่ตนเองกับลังสาธิตการทดลอง
           ประเมินอาจารย์ อธิบายเพิ่มเติม และคอมเม้นให้เพื่อนๆที่ออกไปสาธิต

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่3

บันทึกครั้งที่3
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.

เนื้อหา
           การที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆ
              1.เรื่องที่เด็กสนใจ
              2.เรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
              3.สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก (แต่ละโรเรียนอาจจะสอนแตกต่างกัน เช่น โรงเรียนภาคใต้ อาจจะสอนเกี่ยวกับ ซึนามิ ) 
              4.พัฒนาการของเด็ก
                                                            
          แม่บทของการจัดการสอนให้กับเด็ก คือ หลักสูตรปฐมวัย จะมีด้วยกัน 4 สาระสำคัญ
               1.เกี่ยวกับตัวเด็ก
               2.บุคคลและสถานที่
               3.ธรรมชาติรอบนตัว
               4.สิ่งแวดล้อม
         พัฒนาการของเด็กปฐมวัย   
                  ความหมาย ความสามารถของเด็กที่แสดงออกตามช่วงอายุ
                  ลักษณะ      เป็นการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
                  ต้องส่งเสริมเพราะจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในขั้นต่อไป
          พัฒนาการด้สนสติปัญญาของเพียเจต์
             ขั้น 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว Sensori-Motor Stage อายุ 0-2 ปี จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับรู้ความรู้สึก

             ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด Preoperational Stage  2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น 
             -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น และจะมีการใช้ภาษา      
             -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี มีการใช้เหตุผลมากขั้น

             ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ได้

            ขั้นที่ 4  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง

        การเล่น  
           เป็นวิธีการในการเรียนรู้ของเด็ก คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมืองกระทำต่อวัตถุเพื่อเลือกและตัดสินใจอย่างมีความสุข
           คือ การที่เด็กใช้ประสาทรับรู้ทั้ง5 เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเพื่อส่งไปยังสมองเพื่อรับรู้ข้อมูล บางครั้งอาจจะไปทับกับความรู้ใหม่ แต่บางครั้งก็มีที่ต่างออกจากเดิม ทำให้สมองมีการปรับโครงสร้าง และเกิดความรู้ใหม่
           การที่เด็กเกิดความรู้ใหม่นั้น เด็กจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อน

       เด็กแสดงพฤติกรรม = เป็นพัฒนาการของเด็กเช่นกัน

       การประเมินเด็ก ต้องมีวัตถุประสงค์ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กเกิดความรู้ใหม่ คือ เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือสามารถบอก เล่า หรือใช้เป็นการวาดภาพ
                                                              
       คำศัพท์
                    1.Process        กระบวนการ
                  2.Infer             อ้างอิง
                  3.Extensions  ส่วนขยาย
                  4.Measure      การวัด
                   5.Laugh            หัวเราะ
     ประเมิน
                ประเมินตนเอง ช่วยเพื่อนๆตอบคำถามและจนบันทึกสิ่งที่อาจารย์อธิบาย
                ประเมินเพื่อน ตอบคำถามของอาจารย์
                ประเมินอาจารย์ ช่วยขยายความในสิ่งที่นักศึกษาตอบ 

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่2

บันทึกครั้งที่2
วันศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.
 เนื้อหา
        อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อทำงาน เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเราจะนึกถึงอะไรบ้าง ถ้าจะพูดถึง 1.เด็กปฐมวัย 2.การจัดการเรียนรู้ 3.วิทยาศาสตร์ 
        1.เด็กปฐมวัย จะนึกถึง
             สมอง เนื่องจาก เด็กวัยนี้จะสามารถรับรู้ข้อมูลและซึกซับ ในบางครั้งข้อมูลที่ได้รับอาจจะไปทับกับความรู้เดิม และก็มีที่ต่างออกไปเพื่อปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
             พัฒนาการ  เพราะเด็กมีพัฒนาการเป็นลำดีบขั้นอย่างต่อเนื่อง เราต้องส่งเสริมเพื่อให้มีผลดีต่อพัฒนาการขั้นต่อไปของเด็ก
             การอบรมเลี้ยงดู เพราะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
        2.การจัดประสบการณ์ จะนึกถึง
             สื่อ เนื่อจาก สื่อจะเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ของเด็ก
             การเล่น เพราะว่า การเล่นเป็นวิธีการของการเรียนรู้ของเด็ก
        3.วิทยาศาสตร์
           การทดลอง เด็กจะได้ลองผิดลองถูก ได้เห็นกรเปลี่ยนแปลงและต้องมีการตั้งเป้าหมาย สมมุติฐาน เก็บข้อมูล และสรุป
           สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลง
คำถาม
       1.วิิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?
           ไม่จริง เพราะว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของเด็ก เช่น เรื่องธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
       2.ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
             ยาก แต่เราจะมีวิธีการสอนและให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม และจะคำนึกถึงอายุช่วงวัยรวมถึงพัฒนาการของเด็ก 

       3.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
             ควรจะจัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมทักษะของวิทยาศาสตร์โดยผ่านการทำกิจกกรมการเล่น โดยให้เด็กมีส่วนรวม ในการลงมือปฏิบัติ

ทักษะและเทคนิคในการสอนของอาจารย์
         1.การอธิบาย ในสิ่งที่นักศึกาายังตอบไม่ได้
         2.ใช้กาตั้งคำถาม 
         3.ให้ทำงานกลุ่ม เพื่อให้รู้จักวางแผน
คำศัพท์
          1.Intermediary  ตัวกลาง
          2.Method          วิธีการ
          3.Goal               เป้าหมาย
          4.Compare        เปรียบเทียบ
          5.Hypothesis     สมมุติฐาน

ประเมิน
            ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและช่วยเพื่อนตอบคำถาม รวมถึงออกความคิดเห็นในการทำงาน
            ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงาน และช่วยกันอธิบายให้กับอาจารยืฟัง
            ประเมินอาจารย์ : อธิบายสิ่งที่นักศึกษาเขียนอย่างละเอียด 

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่1

บันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เรียน
              วันนี้เป็นการปฐมนิเทศเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเบื้องต้นว่าจะเรียนไปในทิศทางไหน วิชานี้ต้องมีการทำอะไรบ้าง รวมถึงข้อตกลงในการเรียนร่วม และได้ให้จัดเก็บผลงานเป็นแฟ้ม โดยใช้โปรแกรม blogger เพื่อง่ายต่อการทำและประหยัดค่าใช้จ่าย
                 องค์ประกอบของ blogger 
                       1.ชื่อบล็อกและคำธิบายบล็อก
                       2.รูปและข้อมูลผู้เรียน
                       3.ปฏิทินและนาฬิกา
             4.เชื่อมโยง หน่วยงานที่สนับสนุน แนวการสอน งานวิจัย บทความ สื่อ(เพลง นิทาน เกม)
             5. การบันทึกอนุทินหลังเลิกเรียน 

            อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ1แผ่น เพื่อให้เขียนว่าวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปบมวัย น่าจะเรียนเรื่องอะไรบ้างโดยทำเป็นรูปแบบมายแมบปิ้ง   

           คำศัพท์

                  1.Science    วิทยาศาสตร์

                  2.Portfolio    แฟ้มสะสมงาน

                  3.An important experience  ประสบการณ์สำคัญ

                  4.Departments หน่วยงาน

                  5.Mind maps. แผนผังความคิด

           ประเมิน

                 ประเมินตนเอง  ตั้งใจอาจารย์ชี้แจงการทำบล็อกและตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

                 ประเมินเพื่อน   ตั้งใจฟังและโต้ตอบอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม

                 ประเมินอาจารย์  พูดอธิบายเกี่ยวกับการทำบล็อกและรายละเอียดในส่วนต่างๆ