วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่3

บันทึกครั้งที่3
วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 08:30-12.30 น.

เนื้อหา
           การที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆ
              1.เรื่องที่เด็กสนใจ
              2.เรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัวเด็ก
              3.สถานการณ์ที่มีผลกระทบกับเด็ก (แต่ละโรเรียนอาจจะสอนแตกต่างกัน เช่น โรงเรียนภาคใต้ อาจจะสอนเกี่ยวกับ ซึนามิ ) 
              4.พัฒนาการของเด็ก
                                                            
          แม่บทของการจัดการสอนให้กับเด็ก คือ หลักสูตรปฐมวัย จะมีด้วยกัน 4 สาระสำคัญ
               1.เกี่ยวกับตัวเด็ก
               2.บุคคลและสถานที่
               3.ธรรมชาติรอบนตัว
               4.สิ่งแวดล้อม
         พัฒนาการของเด็กปฐมวัย   
                  ความหมาย ความสามารถของเด็กที่แสดงออกตามช่วงอายุ
                  ลักษณะ      เป็นการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
                  ต้องส่งเสริมเพราะจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในขั้นต่อไป
          พัฒนาการด้สนสติปัญญาของเพียเจต์
             ขั้น 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว Sensori-Motor Stage อายุ 0-2 ปี จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับรู้ความรู้สึก

             ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด Preoperational Stage  2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น 
             -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น และจะมีการใช้ภาษา      
             -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี มีการใช้เหตุผลมากขั้น

             ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ได้

            ขั้นที่ 4  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง

        การเล่น  
           เป็นวิธีการในการเรียนรู้ของเด็ก คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมืองกระทำต่อวัตถุเพื่อเลือกและตัดสินใจอย่างมีความสุข
           คือ การที่เด็กใช้ประสาทรับรู้ทั้ง5 เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเพื่อส่งไปยังสมองเพื่อรับรู้ข้อมูล บางครั้งอาจจะไปทับกับความรู้ใหม่ แต่บางครั้งก็มีที่ต่างออกจากเดิม ทำให้สมองมีการปรับโครงสร้าง และเกิดความรู้ใหม่
           การที่เด็กเกิดความรู้ใหม่นั้น เด็กจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อน

       เด็กแสดงพฤติกรรม = เป็นพัฒนาการของเด็กเช่นกัน

       การประเมินเด็ก ต้องมีวัตถุประสงค์ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กเกิดความรู้ใหม่ คือ เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือสามารถบอก เล่า หรือใช้เป็นการวาดภาพ
                                                              
       คำศัพท์
                    1.Process        กระบวนการ
                  2.Infer             อ้างอิง
                  3.Extensions  ส่วนขยาย
                  4.Measure      การวัด
                   5.Laugh            หัวเราะ
     ประเมิน
                ประเมินตนเอง ช่วยเพื่อนๆตอบคำถามและจนบันทึกสิ่งที่อาจารย์อธิบาย
                ประเมินเพื่อน ตอบคำถามของอาจารย์
                ประเมินอาจารย์ ช่วยขยายความในสิ่งที่นักศึกษาตอบ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น