วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สรุปวัจัย

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                    เรื่อง : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                   ปริญญานิพนธ์ของ : ชยุดา พยุงวงษ์
                               
            บทนำ
                    การเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกตเป็น เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมเด็กให้มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความหมาย ด้วยการสังเกต การทดลอง และการตอบคําถาม ประสบการณ์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เด็กได้รู้จักสิ่งรอบตัว เข้าใจโลกที่เป็นอยู่ รู้จัก วิเคราะห์ การจําแนก รวมถึงการเรียนรู้ การแก้ปัญหา 

            จุดมุ่งหมาย
                    1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
                   2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
            

            ขอบเขตของการวิจัย
                     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
                        ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลัง ศึกษาอยในชั้นอนุบาล3 ภาคเรียนท 1 การศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อําเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี   สํากัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 156 คน 

                    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นการศึกษานี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ที่ 3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อําเภอ บางละมุง จังหวัดชลบรุ ีสํากัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่าง ง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน จากจํานวน 4 ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลาก ได้จํานวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง 

                    ตัวแปรที่ศึกษา
                         1. ตัวแปรจัดกระทํา ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                         2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้ 
                             2.1 ทักษะการสังเกต 2.2 ทักษะการจําแนกประเภท 
                            2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล 
                            2.4 ทักษะการลงความเห็น
                            2.5 ทักษะการพยากรณ์นิยามศัพท์

            การดำเนินการ
                   การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
                         1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                         2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
                    วิธีดําเนินการทดลอง การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 8 สัปดาห์เรื่องใช้เวลา 2 สัปดาห์ จํานวน8 วัน วันละ  30-40 นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ในช่วงเวลา 9.30 – 10.15 น. โดยมีขั้นตอนดังนี้
                        1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
                        2. ผู้วิจัยทําการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 3 วัน ได้แก่  วันจันทร์ อังคาร พุธ จากนั้นนํามาตรวจให้ คะแนนตามเกณฑ์ และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน  
                        3. ผู้วิจัยดําเนินการทําลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ เรื่องละ 2 สัปดาห์ จํานวน 8 วัน วันละ 30 – 45 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์เวลา 9.30 – 10.15 น. 

            สรุปการวิจัย
                    จากการวจิัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทักษะกระบวนการวทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยที่ได้รับการ จัดการเรียนรแบบเด็กกนักวิจัยมีความมุ่งงหมายของการวิจั คือ เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกาเรียนรู้แบบเด็กนักวจัย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

การทดลองน้ำเปลี่ยนสี
            ขั้นตอน
                       1.เตรียมอุปกรณ์ใส่กลล่อง ให้เด็กทายว่ามีอะไรอยู่ในกล่อง
                       2.ครูนำอุปกรณ์มาให้เด็กดู 1.ดอกอัญชัน 2.ใบเตย 3.น้ำมะนาว 4.แก้ว 5.หลอด 6.ถุงร้อน
                       3.ครูนำดอกอัญชันและใบเตยใส่ถุงแกง เพื่อให้เด็กขยี้แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
                       4.ครูนำน้ำดอกอัญชันและใบเตยที่คั่นแล้วมา ใส่แก้ว
                       5.ครูถามเด็กๆว่าถ้าครูนำน้ำมะนาวใส่ลงไปในแก้วของน้ำอัญชันและใบเตย เด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น...แต่ถามต่อว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
                       6.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำอัญชัน10หยด แล้วให้เด็กสังเกต
                       7.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำใบเตย10หบด แล้วให้เด็กสังเกต
                       8.ครูถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าเพราะอะไรถึงน้ำอัญชัญที่หยดมะนาวลงไปจะเปลี่ยนสี
                       9.เมื่อเด็กตอย ครูถึงอธิบาย

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่10

 

บันทึกครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.30-12.30น.

เนื้อหา
            โครงการวิทยาศาสตร์(การทดลอง)
           คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม
                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้แล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์
                3.การนำเข้ากิจกรรม ครูสอนให้เป็นตัวอย่าง ต้องใช้คำถาม(ใครอยากที่จะช่วยบ้าง?)
                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูคสรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก
                5.ขั้นสรุป ครูต้องเท้าความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ
                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป
                        อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม ช่วยกันคิดหน่วนการเรียนรู้เพื่อที่จะทำการทดลอง
หน่วยผัก
การทดลองผักเปลี่ยนสี
        1.ครูเตรียมอุปกรณ์ใส่ตะกร้า  แก้ว  สีผสมอาหาร  หัวไช้เท้า  ขึ้นฉ่าย  กวางตุ้ง
        2.ครูหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้นพร้อมแนะนำชื่อ
        3.ครูถามเด็กว่ามีใครอยากช่วยครูผสมสีผสมอาหารบ้าง
        4.ครูหยิบแก้วออกมา 4 ใบพร้อมให้เด็กนับจากนั้นให้เด็กหยิบเลขมาติดกำกับกับแก้วแต่ละใบ
        5.ครูแบ่งน้ำสีผสมอาหารใส่แก้วในปริมาณที่เท่ากันทั้ง 4 แก้ว
        6.ครูถามเด็กว่าถ้านำผักใส่ลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
        7.ครูให้เด็กช่วยนำผักมาใส่แก้ว 
     แก้วที่ 1 ผักกาดขาว                                                          
     แก้วที่ 2 หัวไชเท้า 
     แก้วที่ 3 ขึ้นฉ่าย                                                                                  
     แก้วที่ 4 กวางตุ้ง
        8.ให้เด็กสังเกตผักในแก้วแต่ละชนิดแล้วครูถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้น
        9.พอผักมีการเปลี่ยนแปลงครูนำผักที่ไม่ได้ใส่แก้วนำมาให้เด็กได้เปรียบเทียบความแตกต่าง
        10.ครูถามเด็กว่าทำไมถึงเปลี่ยนสีและทำไมผักกวางตุ้งถึงไม่เปลี่ยนสี
        11.ครูถามเด็กว่าเด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้าง
        12.ครูสรุปว่าผักแต่ละชนิดมีการดูดซึมน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงเพราะน้ำเป็นอาหารของผักครูก็ยกตัวอย่างว่าทุกอย่างบนโลกนี้มันต้องการน้ำเด็กๆก็ต้องกินน้ำเพื่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของร่างกาย
ประเมิน
            ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังและจดสิ่งที่อาจารย์ให้ดู พร้อมทั้งการช่วยเพื่อนๆคิดการทดลอง
            ประเมินเพื่อน:ตั้งใจและช่วยกันคิดวิธีการทำการทดลอง
            ประเมินอาจารย์:อธิบายเพิ่มเติมจากสิ่งที่ให้ดู และให้คำแนะนำในการคิดการทำการทดลอง
คำศัพท์
            Project                โครงการ
            The growth         การเจริญเติบโต
            White cabbage   ผัดกาดขาว
            Mixing               การผสม      
            Stimulate            การกระตุ้น
                    

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สื่อเพื่อพัฒนาลูก

สื่อเพื่อพัฒนาลูก
นิทานเรื่อง พระจันทร์ในบ่อน้ำ

เป็นกิจกรรมง่ายๆโดยผ่านนิทานการทดลอง โดยใช้นิทานเป็นสื่อกลางในการเชื่อมไปยังการทดลองวิทยาศาสตร์
นิทานเรื่องพระจันทร์ในบ่อน้ำ
ในขณะที่พ่อค้าเดินทางไกลผ่านมาที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พ่อค้าเดินไปเรื่อยๆ จนพบกับกลุ่มคนกลุ่มใหญ่กำลังอยู่ล้อมรอบบ่อน้ำนอกหมู่บ้าน พวกเขากำลังจะลงไปในบ่อน้ำ พ่อค้าเห็นเข้าจึงถามว่า
        "พวกท่านจะลงไปในบ่อน้ำทำไมหรือ?"
คนเหล่านั้นร้องตอบพ่อค้าว่า
              "ทำไมเล่า พวกเรามีเหตุผลที่จะลงไปในบ่อน้ำ ท่านเข้ามาดูสิพระจันทร์หกคะเมนลบไปในบ่อน้ำ และพวกเราก็กำลังจะลงไปเอามันขึ้นมาให้ได้"
กลุ่มคนพูดจบ พ่อค้าจึงระเบิดเสียงหัวเราะดังลั่นแล้วบอกกับกลุ่มคนว่า
              "พวกท่านจงมองขึ้นไปบนท้องฟ้า พระจันทร์ที่เห็นในบ่อน้ำมันคือเงาของพระจันทร์"
              แต่กลุ่มคนเหล่านั้นไม่เชื่อ แถมยังทำร้ายร่างกายพ่อค้าจนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องแสงและเงา

        อุปกรณ์
            1.ไฟฉาย
        มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง
            1.ให้ผู้ปกครองเตรียมไฟฉาย
            2.ให้ผู้ปกครองถามเด็กว่าถ้านำไฟฉายมาส่องที่มือที่เป็นรูป

            3.ทำการทดลองโดยเด็กสังเกตเป็นรูปอะไร และเพราะอะไร
            4.ทำเช่นเดียวกับข้อ3แต่เปลี่ยนการทำมือเป็นรูปอื่น
            5.เมื่อเด็กๆตอบ ก็สรุปให้เด็กๆฟังว่า เงาเกิดข้ึนจากอะไร 

    ผลจากการทำทดลอง
        เด็กได้รู้จักเงาในรูปต่างๆจากมือและการเกิดเงาไดเ้ พราะ แสงไม่สามารถผ่านวัตถุได้ทำให้กิดเงาขึ้น  

ตัวอย่างการสอน

 ตัวอย่างการสอน : การละลายของน้ำตาล

ตัวอย่างการสอนของ : คุณครูอิธิพงษ์ โลกุตรพล
จาก: บ้านนักวิทย์ สสวท.
    การจัดกิจกรรม
        1.ครูถามเด็กว่าใครเลยช่วยคุณแม่ทำกับข้าวบ้าง แล้วในครัวมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง         2.ครูค่อยๆหยิบอุปกรณ์ขึ้นมาทีละอย่าง (น้ำตาลก้อน น้ำเปล่า น้ำมัน สีผสมอาหาร จาน3ใบ)         3.ครูให้เด็กทายว่าครูนำสีผสมอาหารมาทำไม         4.ครูแบ่งกลุ่มเด็กเป็น2กลุ่ม         5.ครูในเด็กน้ำสีมาหยดในน้ำตาลก้อน(ย้อมสี)         6.จากนั้นครูแจกจานให้เด็กแล้วเทน้ำเปล่าลงในจาน         7.ถามเด็กว่าถ้านำน้ำตาลที่เราย้อมสีมาใส่ลงในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
        8.ให้เด็กสังเกต         9.ครูเทน้ำมันพืชลงถ้วย แล้วถามเด็กว่าถ้าครูนำน้ำตาลก้อนที่ย้อมที่จะเกิดอะไรขึ้น         10.มันไมาละลาย
        11.ครูสรุปให้เด็กฟังว่า น้ำตาลละลายในน้ำเปล่าแต่ไม่ละลายในน้ำมันพืช

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บทความ

 บทความ:5 วิธีเลี้ยงลูก ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์น้อยแสนฉลาด

            วิทยาศาสตร์อยู่ในตัวกันทุกคน นั่นคือความอยากรู้อยากเห็น การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล และประโยชน์จากการคิดเป็นและแก้ปัญหาได้
1.เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ
            แสดงตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาตร์ในชีวิตประจำวันให้ลูกเห็น ว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวเราและไม่ได้ยากอย่างที่คิด อย่างการสอนลูกเล่นเกมง่ายๆ ที่เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ทำการทดลองง่ายๆ
2.อย่าหยุดอยู่แค่ความรู้ในชั้นเรียน
        พ่อแม่อาจหาศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่ตรงกับความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของลูก เช่น คอร์สเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรม
3.ร่วมสำรวจโลกไปกับลูก
        เด็กบางคนชอบเรื่องทางชีววิทยา พวกสัตว์ แมลง ต้นไม้ใบหญ้า พ่อแม่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องนี้ได้ง่ายๆ อาจจะพาลูกไปสำรวจและเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน  อุปกรณ์ง่ายๆ อย่างแว่นขยาย
4.เล่นเกมอย่างสร้างสรรค์
        สนับสนุนให้ลูกเล่นเกมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและการคิดเชิงวิเคราะห์       
5.จัดทริปท่องเที่ยวหาความรู้ 
           พาลูกท่องไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิทยาศาตร์ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่มีต้นไม้แปลกๆ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือสวนสัตว์ สำหรับเด็กๆ  
             

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

 

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
              วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้   การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  
            จึงต้องมีเทคนิดให้กับคุณครูในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย 
       




ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคสำหรับคุณที่ต้องรู้ เพื่อนที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม