หน้าแรก

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สรุปวัจัย

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                    เรื่อง : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
                   ปริญญานิพนธ์ของ : ชยุดา พยุงวงษ์
                               
            บทนำ
                    การเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะสร้างให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล คิดเป็น สังเกตเป็น เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมเด็กให้มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความหมาย ด้วยการสังเกต การทดลอง และการตอบคําถาม ประสบการณ์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เด็กได้รู้จักสิ่งรอบตัว เข้าใจโลกที่เป็นอยู่ รู้จัก วิเคราะห์ การจําแนก รวมถึงการเรียนรู้ การแก้ปัญหา 

            จุดมุ่งหมาย
                    1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
                   2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
            

            ขอบเขตของการวิจัย
                     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
                        ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลัง ศึกษาอยในชั้นอนุบาล3 ภาคเรียนท 1 การศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อําเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี   สํากัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 156 คน 

                    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นการศึกษานี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ที่ 3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลทนาพรวิทยา อําเภอ บางละมุง จังหวัดชลบรุ ีสํากัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่าง ง่ายด้วยการจับสลาก 1 ห้องเรียน จากจํานวน 4 ห้องเรียน และจับสลากนักเรียนจากห้องที่จับสลาก ได้จํานวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง 

                    ตัวแปรที่ศึกษา
                         1. ตัวแปรจัดกระทํา ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                         2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้ 
                             2.1 ทักษะการสังเกต 2.2 ทักษะการจําแนกประเภท 
                            2.3 ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล 
                            2.4 ทักษะการลงความเห็น
                            2.5 ทักษะการพยากรณ์นิยามศัพท์

            การดำเนินการ
                   การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
                         1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                         2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
                    วิธีดําเนินการทดลอง การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 8 สัปดาห์เรื่องใช้เวลา 2 สัปดาห์ จํานวน8 วัน วันละ  30-40 นาที รวม 32 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ในช่วงเวลา 9.30 – 10.15 น. โดยมีขั้นตอนดังนี้
                        1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
                        2. ผู้วิจัยทําการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 3 วัน ได้แก่  วันจันทร์ อังคาร พุธ จากนั้นนํามาตรวจให้ คะแนนตามเกณฑ์ และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน  
                        3. ผู้วิจัยดําเนินการทําลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ เรื่องละ 2 สัปดาห์ จํานวน 8 วัน วันละ 30 – 45 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์เวลา 9.30 – 10.15 น. 

            สรุปการวิจัย
                    จากการวจิัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทักษะกระบวนการวทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยที่ได้รับการ จัดการเรียนรแบบเด็กกนักวิจัยมีความมุ่งงหมายของการวิจั คือ เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกาเรียนรู้แบบเด็กนักวจัย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การทดลองน้ำเปลี่ยนสี

การทดลองน้ำเปลี่ยนสี
            ขั้นตอน
                       1.เตรียมอุปกรณ์ใส่กลล่อง ให้เด็กทายว่ามีอะไรอยู่ในกล่อง
                       2.ครูนำอุปกรณ์มาให้เด็กดู 1.ดอกอัญชัน 2.ใบเตย 3.น้ำมะนาว 4.แก้ว 5.หลอด 6.ถุงร้อน
                       3.ครูนำดอกอัญชันและใบเตยใส่ถุงแกง เพื่อให้เด็กขยี้แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
                       4.ครูนำน้ำดอกอัญชันและใบเตยที่คั่นแล้วมา ใส่แก้ว
                       5.ครูถามเด็กๆว่าถ้าครูนำน้ำมะนาวใส่ลงไปในแก้วของน้ำอัญชันและใบเตย เด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น...แต่ถามต่อว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
                       6.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำอัญชัน10หยด แล้วให้เด็กสังเกต
                       7.ครูให้เด็กช่วยนำน้ำมะนาวหยดลงในแก้วน้ำใบเตย10หบด แล้วให้เด็กสังเกต
                       8.ครูถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าเพราะอะไรถึงน้ำอัญชัญที่หยดมะนาวลงไปจะเปลี่ยนสี
                       9.เมื่อเด็กตอย ครูถึงอธิบาย

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่10

 

บันทึกครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.30-12.30น.

เนื้อหา
            โครงการวิทยาศาสตร์(การทดลอง)
           คุณครูต้องเริ่มจากคำถามของเด็กๆ ครูมีหน้าที่ให้คำตอบ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก
                1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ   ครูต้องการที่จะกระตุ้นในการทำกิจกรรม
                2.อุปกรณ์  จะเป็นตัวอย่าง คือ การกระตุ้นให้เด็กสงสัยอยากรู้ ครูควรที่จะซ้อนไว้แล้วนำออกมาทีละชิ้นพร้อมกับแนะนำชื่ออุปกรณ์
                3.การนำเข้ากิจกรรม ครูสอนให้เป็นตัวอย่าง ต้องใช้คำถาม(ใครอยากที่จะช่วยบ้าง?)
                4.เริ่มกิจกรรม ในแต่ละขั้นควรให้เด็กสังเกต ว่าเห็นอะไรบ้าง ทุกๆการตอบของเด็กครูคสรที่จะสนองคำตอบของเด็ก ด้วยการชมว่าเก่งมาก
                5.ขั้นสรุป ครูต้องเท้าความว่า ทำอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง สรุปข้อเท็จจริง คือการสังเกตเห็นอะไรจากผลที่ทำ
                6.การบูรณาการ ด้านภาษากับคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป
                        อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม ช่วยกันคิดหน่วนการเรียนรู้เพื่อที่จะทำการทดลอง
หน่วยผัก
การทดลองผักเปลี่ยนสี
        1.ครูเตรียมอุปกรณ์ใส่ตะกร้า  แก้ว  สีผสมอาหาร  หัวไช้เท้า  ขึ้นฉ่าย  กวางตุ้ง
        2.ครูหยิบอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้นพร้อมแนะนำชื่อ
        3.ครูถามเด็กว่ามีใครอยากช่วยครูผสมสีผสมอาหารบ้าง
        4.ครูหยิบแก้วออกมา 4 ใบพร้อมให้เด็กนับจากนั้นให้เด็กหยิบเลขมาติดกำกับกับแก้วแต่ละใบ
        5.ครูแบ่งน้ำสีผสมอาหารใส่แก้วในปริมาณที่เท่ากันทั้ง 4 แก้ว
        6.ครูถามเด็กว่าถ้านำผักใส่ลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
        7.ครูให้เด็กช่วยนำผักมาใส่แก้ว 
     แก้วที่ 1 ผักกาดขาว                                                          
     แก้วที่ 2 หัวไชเท้า 
     แก้วที่ 3 ขึ้นฉ่าย                                                                                  
     แก้วที่ 4 กวางตุ้ง
        8.ให้เด็กสังเกตผักในแก้วแต่ละชนิดแล้วครูถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้น
        9.พอผักมีการเปลี่ยนแปลงครูนำผักที่ไม่ได้ใส่แก้วนำมาให้เด็กได้เปรียบเทียบความแตกต่าง
        10.ครูถามเด็กว่าทำไมถึงเปลี่ยนสีและทำไมผักกวางตุ้งถึงไม่เปลี่ยนสี
        11.ครูถามเด็กว่าเด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้าง
        12.ครูสรุปว่าผักแต่ละชนิดมีการดูดซึมน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงเพราะน้ำเป็นอาหารของผักครูก็ยกตัวอย่างว่าทุกอย่างบนโลกนี้มันต้องการน้ำเด็กๆก็ต้องกินน้ำเพื่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของร่างกาย
ประเมิน
            ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังและจดสิ่งที่อาจารย์ให้ดู พร้อมทั้งการช่วยเพื่อนๆคิดการทดลอง
            ประเมินเพื่อน:ตั้งใจและช่วยกันคิดวิธีการทำการทดลอง
            ประเมินอาจารย์:อธิบายเพิ่มเติมจากสิ่งที่ให้ดู และให้คำแนะนำในการคิดการทำการทดลอง
คำศัพท์
            Project                โครงการ
            The growth         การเจริญเติบโต
            White cabbage   ผัดกาดขาว
            Mixing               การผสม      
            Stimulate            การกระตุ้น
                    

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สื่อเพื่อพัฒนาลูก

สื่อเพื่อพัฒนาลูก
นิทานเรื่อง พระจันทร์ในบ่อน้ำ

เป็นกิจกรรมง่ายๆโดยผ่านนิทานการทดลอง โดยใช้นิทานเป็นสื่อกลางในการเชื่อมไปยังการทดลองวิทยาศาสตร์
นิทานเรื่องพระจันทร์ในบ่อน้ำ
ในขณะที่พ่อค้าเดินทางไกลผ่านมาที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พ่อค้าเดินไปเรื่อยๆ จนพบกับกลุ่มคนกลุ่มใหญ่กำลังอยู่ล้อมรอบบ่อน้ำนอกหมู่บ้าน พวกเขากำลังจะลงไปในบ่อน้ำ พ่อค้าเห็นเข้าจึงถามว่า
        "พวกท่านจะลงไปในบ่อน้ำทำไมหรือ?"
คนเหล่านั้นร้องตอบพ่อค้าว่า
              "ทำไมเล่า พวกเรามีเหตุผลที่จะลงไปในบ่อน้ำ ท่านเข้ามาดูสิพระจันทร์หกคะเมนลบไปในบ่อน้ำ และพวกเราก็กำลังจะลงไปเอามันขึ้นมาให้ได้"
กลุ่มคนพูดจบ พ่อค้าจึงระเบิดเสียงหัวเราะดังลั่นแล้วบอกกับกลุ่มคนว่า
              "พวกท่านจงมองขึ้นไปบนท้องฟ้า พระจันทร์ที่เห็นในบ่อน้ำมันคือเงาของพระจันทร์"
              แต่กลุ่มคนเหล่านั้นไม่เชื่อ แถมยังทำร้ายร่างกายพ่อค้าจนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องแสงและเงา

        อุปกรณ์
            1.ไฟฉาย
        มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง
            1.ให้ผู้ปกครองเตรียมไฟฉาย
            2.ให้ผู้ปกครองถามเด็กว่าถ้านำไฟฉายมาส่องที่มือที่เป็นรูป

            3.ทำการทดลองโดยเด็กสังเกตเป็นรูปอะไร และเพราะอะไร
            4.ทำเช่นเดียวกับข้อ3แต่เปลี่ยนการทำมือเป็นรูปอื่น
            5.เมื่อเด็กๆตอบ ก็สรุปให้เด็กๆฟังว่า เงาเกิดข้ึนจากอะไร 

    ผลจากการทำทดลอง
        เด็กได้รู้จักเงาในรูปต่างๆจากมือและการเกิดเงาไดเ้ พราะ แสงไม่สามารถผ่านวัตถุได้ทำให้กิดเงาขึ้น  

ตัวอย่างการสอน

 ตัวอย่างการสอน : การละลายของน้ำตาล

ตัวอย่างการสอนของ : คุณครูอิธิพงษ์ โลกุตรพล
จาก: บ้านนักวิทย์ สสวท.
    การจัดกิจกรรม
        1.ครูถามเด็กว่าใครเลยช่วยคุณแม่ทำกับข้าวบ้าง แล้วในครัวมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง         2.ครูค่อยๆหยิบอุปกรณ์ขึ้นมาทีละอย่าง (น้ำตาลก้อน น้ำเปล่า น้ำมัน สีผสมอาหาร จาน3ใบ)         3.ครูให้เด็กทายว่าครูนำสีผสมอาหารมาทำไม         4.ครูแบ่งกลุ่มเด็กเป็น2กลุ่ม         5.ครูในเด็กน้ำสีมาหยดในน้ำตาลก้อน(ย้อมสี)         6.จากนั้นครูแจกจานให้เด็กแล้วเทน้ำเปล่าลงในจาน         7.ถามเด็กว่าถ้านำน้ำตาลที่เราย้อมสีมาใส่ลงในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
        8.ให้เด็กสังเกต         9.ครูเทน้ำมันพืชลงถ้วย แล้วถามเด็กว่าถ้าครูนำน้ำตาลก้อนที่ย้อมที่จะเกิดอะไรขึ้น         10.มันไมาละลาย
        11.ครูสรุปให้เด็กฟังว่า น้ำตาลละลายในน้ำเปล่าแต่ไม่ละลายในน้ำมันพืช

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บทความ

 บทความ:5 วิธีเลี้ยงลูก ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์น้อยแสนฉลาด

            วิทยาศาสตร์อยู่ในตัวกันทุกคน นั่นคือความอยากรู้อยากเห็น การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล และประโยชน์จากการคิดเป็นและแก้ปัญหาได้
1.เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ
            แสดงตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาตร์ในชีวิตประจำวันให้ลูกเห็น ว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวเราและไม่ได้ยากอย่างที่คิด อย่างการสอนลูกเล่นเกมง่ายๆ ที่เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ทำการทดลองง่ายๆ
2.อย่าหยุดอยู่แค่ความรู้ในชั้นเรียน
        พ่อแม่อาจหาศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่ตรงกับความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของลูก เช่น คอร์สเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรม
3.ร่วมสำรวจโลกไปกับลูก
        เด็กบางคนชอบเรื่องทางชีววิทยา พวกสัตว์ แมลง ต้นไม้ใบหญ้า พ่อแม่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องนี้ได้ง่ายๆ อาจจะพาลูกไปสำรวจและเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน  อุปกรณ์ง่ายๆ อย่างแว่นขยาย
4.เล่นเกมอย่างสร้างสรรค์
        สนับสนุนให้ลูกเล่นเกมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและการคิดเชิงวิเคราะห์       
5.จัดทริปท่องเที่ยวหาความรู้ 
           พาลูกท่องไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิทยาศาตร์ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่มีต้นไม้แปลกๆ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือสวนสัตว์ สำหรับเด็กๆ  
             

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

 

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
              วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้   การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  
            จึงต้องมีเทคนิดให้กับคุณครูในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย 
       




ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคสำหรับคุณที่ต้องรู้ เพื่อนที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
         

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 9

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
 บันทึกครั้งที่9
วันศุกร์ ที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหา
                    อาจารย์ได้แจกกระดาษแข็ง2ชิ้นเพื่อให้ได้ทำลองเล่นที่เกี่ยวกับอากาศ เลยตัดสินใจทำลูกยาง แต่ทำไม่สำเร็จเนื่องจากกระดาษแข็งเกินไป เลยทำให้ลุกยางตกเร็วเกินไป
                    ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษอ่อนคนละ1แผ่นเพื่อทำลุกยาง ให้ลอยได้นานที่สุด
                สุดท้ายอาจารย์ได้ให้ปั้นดินน้ำมันยังไงก็ไดให้ลอยน้ำได้ เราจะต้องปั้นให้เป็นถ้วย เพื่อที่จะได้ให้อากาศเข้าไปจงทำให้ดินน้ำมันลอย เหมือนกับการต้มบัวลอย ที่เวลาบัวลอบสุก บัวลอยจะมีรูอากาศที่ใหญ่ขึ้นเลยทำให้อากาศเข้าไปและทำให้บัวลอยมันลอบขึ้น  

            คำศัพท์
                        1.float     ลอย
                        2.Air       อากาศ
                        3.Boomerang  บูมเมอแรง
                        4.Rubber ball  ลูกยาง
                        5.Plasticine    ดินน้ำมัน
            ประมิน
                        ประเมินตนเอง ร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
                        ประเมินเพื่อน   ทำและคิดวิธีการทำของเล่น
                        ประมเินอาจารย์ ให้ทำกิจกรรมที่หลายอย่างและอธิยาย




    
         

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 8

 

บันทึกครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2563 เวลา08:.30-12:30
เนื้อหา
                 อาจารย์ได้ให้ดุคลิปวิดีโอเกี่ยวกับน้ำและคุณสมบัติของน้ำ และการทดลองต่างๆ

            โดยจะสรุปเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของน้ำ ได้แก่
                1.สมบัติของน้ำ ของแข็ง ของเหลว ก๊าช
                2.การเกิดฝน
                3.การระเหย
                4.การขยายตัว
                5.ความหนาแน่
                6.แรงตึงผิว
                7.แรงกด
            อาจารย์ได้ให้ออกแบบของเล่น1ชนิด ที่เกี่ยวกับน้ำ โดยจับกลุ่ม5คน ช่วยกันคิด พวกเราตกลงกันว่า จะทำกังหันน้ำ มี่เปลี่ยนเป็นพลังงาน
            คำศัพย์
                    1.Surface tension  แรงตึงผิว     
                    2.Pressure             แรงกด
                    3.3. Make sure      ควบแน่
                    4.water turbine      กังหันน้ำ
                    5.Evaporation        การระเหย 
            ประเมิน
                    ประเมินตนเอง ตั้งใจดูคลิปเรื่องน้ำ และช่วยเพื่อนสรุปองค์ความรู้
                    ประเมินเพื่อน ช่วยกันทำานและคิดว่าจะทำของเล่นอะไร
                    ประเมินอาจารย์ ให้ดูคลิปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นที่นักศึกษาเสนอ


                               





วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บ้นทึกครั้งที่7

บันทึกครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 13:00-16:00 น. (เรียนชดเชย)
 เนื้อหา

            อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม5คน เพื่อวาดรูปแหล่งน้ำต่างๆกลุ่มละหนึ่งแหล่ง ที่มีชื่อเสียง โดยให้วาดแต่รูปไม่ให้เขียนตัวหนังสือ เพื่อให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นทายว่าเป็นแหล่งน้ำที่ไหน ซึ่งกลุ่มของมฉันได้วาด แม่น้ำแคว โดยจะวาดสัญญาลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดว่าที่นี่คือแม่น้ำแคว คือวาด สะพานแม่น้ำแคว รถไฟ การล่องแพ และนักรบในสงครามโลกครั้งที่2

      ต่อมาอาจารย์ได้ให้คิดสร้างสรรค์ในการทำสวนสนุกข้างแหละน้ำของตนเองที่ได้วาดไว้ โดยเป็นสไลเดอร์ในรูปแบบ ที่ใช้ดินน้ำมันกลิ้งลงมาให้นานและช้าที่สุด  แต่ละกลุ่มทำเสร็จก็นำมาแข่งกันว่ากลุ่มไหนจะได้นานที่สุด

สุดท้ายอาจารย์ได้ให้ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้พร้อมระบายสีให้สวยงาม แล้วพับ เพื่อนำไปวางในน้ำที่เตรียมไว้ดอกไม้ที่วางลงจะคอยๆบานออก 

เนื่องจากกระดาามีรูพรุนทำให้น้ำสามารถแทรกซึมเข้าไปอยู่ จะทำให้กระดาาหนักขั้นและบานออก

        ความรู้ที่ได้รับ  

              แหล่งน้ำที่สำคัญที่แตกต่างกัน มีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นมา จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปโดยจะมีจุดเด่นให้สังเกต แล้วยังจะสามารถสร้างอาชืพได้จากแหล่งน้ำ เช่นการทำสวนสนุกสไลเดอร์ ค้าขาย

        ทักษะที่ได้รับ 

             ▸ทักษะการสังเกต ว่าสิ่งที่เพื่อนๆว่าแหล่งน้ำมันคือที่ไหน และมีจุดเด่นอะไรบ้าง

             ▸ทักษะการคิดวางแผน ในการทำสไลเดอร์อย่างไรเพื่อที่จะให้ดอนน้ำมันกลิ้งลงได้ช้าที่สุด

             ทักษะในการให้เหตุผล การที่ทำให้ให้ดินน้ำมันกลิ้งนานก็จะต้องทำให้สไลเดอร์ต่ำลง

        วิทยาศาสตร์

            ระดับของความราดเอียงของสไลเดอร์ ความสูงต่ำ และการเสียดทานของหลอดกับดินน้ำมัน มีการจับเวลา เกี่ยวกับสเปสกับเวลา

        คณิตศาสตร์

            เรื่องจำนวน ว่าใช้หลอดที่อาจารย์เตรียมให้กี่อัน 

            เรื่องการวัด ระยะของความยาว และการจับเวลา

        เทคโนโลยี

            อุปกรณ์ที่มีการพัฒนาจากเดิม เช่น สก๊อตเทป 

        วิศวกรรม

           การออกแบบที่มีเป้าหมาย มีการเขียนแบบก่อนที่จะลงมือสร้าง

     
                คำศัพย์

                    1.Engineering   วิศวกรรม

                    2.Friction          เสียดทาน

                    3.Rolling           กลิ้ง

                    4.Get creative   สร้างสรรค์

                    5.Design           ออกแบบ

            ประเมิน

                    ประเมินตนเอง : ช่วยเพื่อนวาดรูประบานสี ออกแบบสไลเดอร์

                    ประเมินเพื่อน: ตั้งใจวาดรูปและคอยทายแหล่งน้ำที่เพื่อนๆวาด สนุกกับการแข่งเกมสไลเดอร์

                     ประเมินอาจารย์: ให้ทำกิจกรรมที่สนุกสนาน